โรคไข้เลือดออก
เป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายอาศัยอยู่ในบ้านและบริเวณรอบๆบ้าน มักกัดคนในเวลากลางวัน พบผู้ป่วยไข้เลือดออกได้ทุกเพศทุกวัยและทุกภาคของประเทศไทย
อาการ
มีไข้สูงลอย ประมาณ 2-7 วัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ส่วนใหญ่มีอารการหน้าแดง อาจมีจุดเล็กๆตามลำตัวแขน ขา มักมีอาการคลื่อนไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายดำ และเบื่ออาหาร
การดูแลตัวเองเบื้องต้น
1. ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที
2. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวลดไข้
3. ใช้ยาลดไข้พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกได้ง่าย
4. ให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ
5. ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวัน ให้นอนกางมุ้ง หรือทายากันยุง
6. กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออก เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย ขอความร่วมมือประชาชนในเขตเทศบาล ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขังทุกสัปดาห์ เพื่อตัดวงจรการเกิดยุงลาย ซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออก โดยการรณรงค์ให้กับประชาชนมีพฤติกรรมการเก็บ 3 เก็บ คือ เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย และ 5ป. 1ข. ปราบยุงลาย
เก็บ 3 เก็บ
เก็บที่ 1 เก็บขยะ เศษภาชนะขังน้ำแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย วัสดุที่เหลือใช้นำไปขายเป็นรายได้เสริม
เก็บที่ 2 เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งยุงลายไม่เกาะพัก ขัดล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ เปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์
เก็บที่ 3 เก็บน้ำ น้ำกินน้ำใช้เก็บให้มิดชิด โดยการเปิดฝาโอ่ง ถัง ไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่
5ป. 1ข.
1.ปิด ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
2. เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำเปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง
3.ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่นปลาหางนกยุง ปลากัด ปลากระดี่
4.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย
5.ปฎิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย และ
1ข. ขัดภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นโอ่งน้ำ เพื่อกำจัดไข่ยุงที่เกาะในภาชนะที่มีน้ำขัง
|