ลักษณะทั่วไปและประวัติความเป็นมาของพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง
ประวัติความเป็นมา
เส้นทางยุทธศาสตร์ คือเส้นทางการเดินทัพในสมัยโบราณมักจะยึดลำน้ำเพื่อสะดวกในการเลี้ยงกองทัพ จึงมักจะสังเกตว่าหลายเส้นทางขนานไปกับลำน้ำหรือหนองบึง ที่มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อหล่อเลี้ยงชุมชน
ชุมชนโนนแดงคงอาศัยหลักการดังกล่าวนี้ จึงตั้งชุมชนอยู่บนโนนสูงป้องกันน้ำท่วมเพราะอยู่ติดลำสะแทดที่อยู่ด้านทิศใต้ มีลำน้ำห้วยระหันค่ายและบึงระหอกอยู่ด้านทิศเหนือและมีลำห้วยเจียบและที่ราบสูงอยู่ด้านทิศตะวันออก จึงเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมมาก
โนนแดงเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มากเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพรรณ สัตว์ป่าชุกชุมมีที่ราบล้อมรอบโนนแดงคล้ายจอมปลวกใหญ่ด้านทิศตะวันออกได้ชื่อว่า “หัวโคก” มีความหมายว่าเป็นต้นป่า จากที่ราบลุ่มมาถึงป่า ไม้ที่มีอย่างสมบูรณ์และมากคือ”ไม้แดง” ผู้ที่เดินผ่านไปมาจึงเรียกว่าโนนแดง ต่อจากไม้แดงเป็นส่วนของไม้เต็งรัง จึงเรียกว่า จึงเรียกว่า “เต็งสูง” มีความหมายว่า ไม้เต็งมีลำต้นสูง เพราะแย่งกันขึ้นจนสูงแหงนคอตั้งบ่า
หมู่บ้านที่อาศัยอยู่บนโนนแห่งนี้จึงมีชื่อเกี่ยวกับไม้แทบทั้งสิ้น กล่าวคือ
บ้านหัวโคก อยู่ด้านทิศตะวันออกเรียกว่าตีนโนน ตีนป่า จึงเรียกว่า “หัวโคก”
บ้านโนนเขว้า อยู่ถัดขึ้นมาและอยู่ตีนป่าด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไม้เขว้าเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง ปัจจุบันแทบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว
บ้านหนองโจด อยู่ด้านทิศใต้ โจดเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งตระกูลไผ่ขึ้นอยู่เป็นป่าริมหนองน้ำ จึงเรียกว่าหนองโจด
บ้านเต็งสูง-เต็งราด อยู่ทิศตะวันตก มีที่ราบลุ่มเล็กน้อยก่อนจะถึงป่าดงดิบที่มีหลายชุมชน จึงเรียกว่า โค้งหวาย ปัจจุบันคือบริเวณหน้าโรงพยาบาลโนนแดงนั่นเอง ด้านตะวันออกโรงพยาบาลเป็นผืนป่าที่เหลืออยู่เพียงผืนเดียว ซึ่งชาวบ้านหนองบงหวงห้ามไว้เป็นป่าทำเลประมาณ ๑๐๐ ไร่
ผืนป่าแห่งนี้เป็นที่หล่อเลี้ยงชาวบ้านในแถบนี้เพราะมีเห็ดอุดมสมบูรณ์มาก อึ่ง แย้ ปลอมก่า กระต่าย แต่สัตว์ป่า ดังกล่าวนับวันจะสูญพันธุ์ เพราะเห็นคนแก่ได้เพียงไม่กี่คน ข้าพเจ้าเคยพาเด็กนักเรียนเดินสำรวจป่า เพื่อดูพันธุ์ไม้ต่าง ๆ แม้แต่หวายที่เคยขึ้นอย่างหนาแน่นอุดมสมบูรณ์ ก็แทบจะไม่ให้เห็นแล้ว
โค้งหวายเป็นที่หวาดกลัวของสิงห์รถบรรทุกมาก ก่อนหน้านี้ก่อนหน้านี้จะขึ้นโค้งหลายจะต้องรอกันที่โนนแดงรอให้มาก่อนเป็นกลุ่มใหญ่กันจึงจะออกเดินทาง เมื่อก่อนดูเหมือนว่าเนินสูงและลาดยาวมาก จะมีทรายมากรถหนักจะขึ้นลำบากมาก รถบรรทุกสินค้าซึ่งเมื่อก่อนเป็น ๖ ล้อ ยังไม่มีสิบล้อ เหมือนปัจจุบัน
บุตาคงอยู่ด้านทิศเหนือ คำว่า “บุ” เป็นบริเวณที่เกิดจากการหักร้างถางพงเพื่อทำไร่ทำสวนตัดไม้ใหญ่ออกเหลือแต่ไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นใหม่ เรียกว่า ป่าบุ ผู้เข้ามาตัดไม้ ชื่อ คง จึงเรียกว่า บุตาคง
เส้นทางยุทธศาสตร์ที่กล่าวถึงเป็นเส้นทางเดินกองทัพในสมัยยังมีการสู้รบกันอยู่ต่อมาเส้นทางค้าขายของ นายฮ้อย ที่ต้อนวัวควายลงไปขาย ล่าง หรือ ไล่วัวลงล่าง คนแก่จะรู้ความหมายได้ดี ความหมายที่รู้จักกันดีในปัจจุบันคือ เสี่ย จะรวบรวมวัวควายเป็นจำนวนมากเป็นกองคาราวานต้อนฝูงใหญ่ลงไปขายที่ภาคกลาง
จากเส้นยุทธศาสตร์และเส้นทางการเดินทางของนายฮ้อยดังกล่าว จึงกลายมาเป็นถนนเจนจบทิศในปัจจุบันนี้ และเป็นเส้นทางเดียวที่ใช้เดินทางติดต่อระหว่างภาคอีสานกับภาคกลาง ซึ่งจะก่อสร้าง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โดยทหารญี่ปุ่น โดยใช้แรงงานคนไทยและเฉลยศึกขุดดินข้างทางทำเป็นถนน เพื่อเป็นทางเดินทัพไปเมืองลาว
เส้นทางหลักจริง ๆ จากหนองคาย อุดร ขอนแก่น บ้านไผ่ แล้วแยกไป แถบ กาฬสินธุ์ นครพนม เมืองพล แยกไป ร้อยเอ็ด อุบล เมื่อจะลงไปภาคกลางจะมาเมืองพล แล้วอ้อมไปหนองสองห้อง ทางพาด กม.ศูนย์ ดงเค็ง โนนแดง ออกบ้านวัด สายตรงจากเมืองพลจะเข้าโคราชยังต้องอ้อมไปประทายผ่านโนนแดงเข้าโคราช และเส้นทางจาก กม.ศูนย์ ไปพุทไธสงก็เป็นทางตัดใหม่เมื่อไม่นานมานี้
โนนแดง เป็นชุมชนที่อยู่ตรงกลาง เป็นเนินที่สูงที่สุดเหมือนจอมปลวก มีไม้แดงอยู่อย่างมากคนที่เดินทางผ่านไปมาประจำจะรู้จักและเข้าใจดี บริเวณสร้างที่ว่าการอำเภอมีสัญลักษณ์ คือ ต้นไม้แดง เป็นทางผ่านจากอีสานลงไปภาคกลาง และเป็นจุดพักรถ เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ และผ่านจากภาคอื่น ๆ ขึ้นไปภาคอีสานทั้งหมด คนรุ่นเก่าเล่าขานสืบกันมารู้จักกันดีว่าโนนแดงเป็นชื่อหมู่บ้านทางผ่านที่พักพิงในการเดินทาง แต่คนรุ่นใหม่ไม่เข้าใจความหมายกลับคิดไปถึงโนนดินแดง ซึ่งเป็นดินแดนที่มีการต่อสู้ทางด้านการเมืองที่ชายแดนไป หากไม่บันทึกเล่าขานกันไว้ คนที่เกิดใหม่ หรือไม่ใช่เป็นคนโนนแดงแท้ ๆ ก็อาจจะไม่รู้ความหมายของโนนแดงก็ได้
ข้อมูลทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง เดิม ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่ศรีประทาน หมู่ที่ ๑๑ อยู่ในเขตเทศบาลตำบลโนนแดง บนเนื้อที่ ๑ ไร่ จนกระทั่งเมื่อ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ย้ายที่ทำการใหม่มาตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๘ หมู่ที่ ๙ บ้านจาบ ตำบลโนนแดง บนเนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๑ งาน ตำบลโนนแดงเป็น ๑ ใน ๕ ตำบล ในเขตอำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา มีอาณาเขตพื้นที่ติดอยู่กับท้องถิ่นใกล้เคียง ๕ ส่วน คือ เทศบาลตำบลโนนแดง , ตำบลสำพะเนียง , ตำบลวังหิน, ตำบลโนนตาเถร,ตำบลดอนยาวใหญ่ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลดอนยาวใหญ่ อำเภอโนนแดง
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอคง , อำเภอพิมาย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเทพาลัย อำเภอคง
เนื้อที่ ตำบลโนนแดง มีพื้นที่ตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ประมาณ ๓๐,๖๒๕ ไร่ หรือ ๔๙ ตารางกิโลเมตร เป็นเขตปกครอง โดยมีเนื้อที่แยกเป็นรายหมู่บ้าน ดังนี้
จำนวนเนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบล แยกเป็นรายหมู่บ้าน
หมู่ที่ |
บ้าน |
เนื้อที่ |
อันดับ |
๒ |
บ้านตะเภาหนุน
|
๔,๐๗๐ |
๓ |
๕ |
บ้านดอนตะหนิน |
๑,๗๒๕ |
๘ |
๖ |
บ้านดอนตัดเรือ |
๕,๔๕๐ |
๑ |
๗ |
บ้านระหันค่าย |
๒,๘๗๙ |
๗ |
๘ |
บ้านหนองบง |
๔,๘๙๐ |
๒ |
๙ |
บ้านจาบ |
๓,๖๒๗ |
๖ |
๑๔ |
บ้านหนองตาโล |
๓,๗๐๔ |
๕ |
๑๖ |
บ้านหนองมน |
๔,๐๓๓ |
๔ |
๑๗ |
บ้านไทยสามัคคี |
๑,๕๖๑ |
๙ |
รวม |
๓๑,๙๓๙ ไร่ |
|
ตารางที่ ๑ จำนวนเนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง แยกเป็นรายหมู่บ้าน
ภูมิประเทศ
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบมีลักษณะลาดเทจากทิศเหนือลงทิศใต้และจากทิศตะวันตกมาตะวันออก ระดับความสูงของพื้นที่แตกต่างกันจากทิศเหนือลงทิศใต้ไปทิศตะวันออกประมาณ ๓ เมตร มีลำน้ำที่สำคัญหลายสาย เช่น ลำสะแทด , บึงระหอก , คลองหัวลิง , ลำห้วยเจียบ เป็นต้น
จำนวนหมู่บ้าน
๑. จำนวนหมู่บ้านในเขต เทศบาลตำบลโนนแดง จำนวน ๖ หมู่บ้าน คือ หมู่๑,๓,๔,๑๑,๑๒,๑๓
๒. จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต.โนนแดง เต็มทั้งหมู่บ้าน จำนวน ๙ หมู่บ้าน คือ
- หมู่ที่ ๒ บ้านตะเภาหนุน - หมู่ที่ ๕ บ้านดอนตะหนิน
- หมู่ที่ ๖ บ้านดอนตัดเรือ - หมู่ที่ ๗ บ้านระหันค่าย
- หมู่ที่ ๘ บ้านหนองบง - หมู่ที่ ๙ บ้านจาบ
- หมู่ที่ ๑๔ บ้านหนองตาโล - หมู่ที่ ๑๖ บ้านหนองมน
- หมู่ที่ ๑๗ บ้านไทยสามัคคี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตอำเภอโนนแดง
- เทศบาลตำบล จำนวน ๒ แห่ง คือ ๑. เทศบาลตำบลโนนแดง ๒. เทศบาลตำบลวังหิน
- องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๔ แห่ง คือ
๑. องค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่
๓. องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาเถร ๔. องค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง
ประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง
- ประชากรทั้งสิ้น ๔,๒๙๐ คน แยกเป็นชาย ๒,๐๔๖ คน หญิง ๒,๒๔๔ คน
- ความหนาแน่นเฉลี่ย ๘๗.55 คน/ตารางกิโลเมตร และมีขนาดครัวเรือนทั้งสิ้น ๑,๐๔๓ ครัวเรือน (๔,๒๙๐ คน ÷ ๔๙ ตร.กม.)
ซึ่งแยกเป็นตารางได้ ดังนี้ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑
หมู่ที่ |
บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
ชาย |
หญิง |
รวม |
๐ |
โนนแดง |
๒ |
๗๙ |
๘๐ |
๑๕๙ |
๒ |
บ้านตะเภาหนุน |
๑๒๓ |
๒๔๗ |
๒๙๔ |
๕๔๑ |
๕ |
บ้านดอนตะหนิน |
๖๓ |
๑๒๓ |
๑๓๔ |
๒๕๗ |
๖ |
บ้านดอนตัดเรือ |
๑๔๒ |
๒๗๖ |
๓๑๗ |
๕๙๓ |
๗ |
บ้านระหันค่าย |
๑๒๘ |
๒๗๕ |
๒๙๓ |
๕๖๘ |
๘ |
บ้านหนองบง |
๒๓๗ |
๔๒๖ |
๔๒๖ |
๘๘๘ |
๙ |
บ้านจาบ |
๑๒๓ |
๒๑๗ |
๒๓๖ |
๔๕๓ |
๑๔ |
บ้านหนองตาโล |
๙๕ |
๒๐๖ |
๒๑๐ |
๔๑๖ |
๑๖ |
บ้านหนองมน |
๔๑ |
๘๘ |
๙๖ |
๑๘๔ |
๑๗ |
บ้านไทยสามัคคี |
๘๙ |
๑๐๙ |
๑๒๒ |
๒๓๑ |
รวม |
|
๑,๐๔๓ |
๒,๐๑๗ |
๒,๒๐๒ |
๔,๒๙๐ |
ข้อมูล ของ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ (ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ สำนักทะเบียนอำเภอโนนแดง)
สภาพทางสังคม
การศึกษา
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ 15 – 60 ปีเต็ม ร้อยละ 99 อ่าน เขียนภาษไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้ เด็กอายุ 6 – 14 ปี ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือเทียบเท่า และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำ ร้อยละ 99 ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ปัญหาคือ ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้ การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การสนับสนุนอาหารเสริมนม อาหารกลางวัน ในหับทางโรงเรียนในเขตพื้นที่ และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ กับทางโรงเรียน
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง มีสถานศึกษาที่อยู่ในเขตจำนวน 4 โรงเรียน
ข้อมูลนักเรียนในเขตพื้นองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ประจำปี 2559
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2559)
ลำดับที่ |
ชื่อโรงเรียน |
จำนวนนักเรียน
(คน) |
|
|
1 |
ศพด. อบต.โนนแดง |
43 |
|
2 |
โรงเรียนวัดบ้านตะเภาหนุน |
91 |
|
3 |
โรงเรียนบ้านดอนตัดเรือ |
106 |
|
4 |
โรงเรียนบ้านหนองบง |
48 |
|
5 |
โรงเรียนบ้านจาบ |
51 |
|
รวม |
|
339 |
|
สาธารณสุข
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี การแก้ไขปัญหา คือ องค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาล ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี สำหรับเด็กแรกเกิด - 6 ปี ผู้ปกครองสามารถเลี้ยงดูตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีเพียง 1 ราย เท่านั้น ดีไม่ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน บางครัวเรือนไม่ได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายยังไม่สม่ำเสมอ และประชากรส่วนมากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้องค์การบริหารส่วนตำบลพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข โดยร่วมมือกับโรงพยาบาล สาธารณสุข จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา
หน่วยงานด้านสาธารณสุข
- โรงพยาบาล จำนวน 1 แห่ง คือโรงพยาบาลโนนแดง มีพื้นที่ทั้งหมด 36 ไร่ เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอโนนแดง
อาชญากรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน และทำลายมทรัพย์สินของราชการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ปัญหาคือจากข้อมูลที่สำรวจพบว่ามี 3 ครัวเรือน ที่ไม่มีการป้องกันอุบัติเหตุ อาชญากรรม วิธีการแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยก รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้
ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรโนนแดงได้แจ้งให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลทราบนั้นพบว่าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ได้ดำเนินโครงการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เพื่อนำผลการสำรวจมาพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้แก่ชุมชน ผลการสำรวจพบว่าประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพบว่า ประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน300คนดื่มสุรา 171 คน
การสังคมสังเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
(1) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
4. ตั้งโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน
5. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
6. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน
ระบบบริการพื้นฐาน
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้
การคมนาคมขนส่ง
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีเส้นทางคมนาคมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ร้อยละ 70 เป้าหมายคือต้องการให้ได้มากกว่านี้หรือร้อยละ 100 โดยผู้บริหารมีนโยบายที่จะดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทุกสาย ปัญหาคือ องค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากพื้นที่ยังไม่เป็นที่สาธารณะ จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อต้องเป็นที่สาธารณะ ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลมีเส้นทางคมนาคม ดังนี้
(1) การคมนาคม การจราจร
เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลและพื้นที่ใกล้เคียงมีดังนี้
1.1) การคมนาคมของตำบลโนนแดง มีถนนสายหลัก คือ
ถนนเจนจบทิศทางหลวงหมายเลข 207
ถนนในหมู่บ้านในตำบล
1.ถนนคอนกรีต จำนวน 60 สาย คิดเป็นระยะทาง 7,000 กิโลเมตร สภาพใช้งานได้ดี
2.ถนนลูกรัง จำนวน 10 สาย คิดเป็นระยะทาง 2,700 กิโลเมตร สภาพใช้งานได้ดี
3.ถนนดิน จำนวน 39 สาย คิดเป็นระยะทางพื้นที่ 137,680 ตารางเมตร สภาพใช้งานได้ดี
4.ถนนหินคลุก จำนวน 15 สาย คิดเป็นพื้นที่ 26,844.5 ตารางเมตร สภาพใช้งานได้ดี
5.ถนนลาดยาง จำนวน 2 เส้น คิดเป็นระยะทาง 5.700 กิโลเมตร สภาพชำรุดเป็นหลุมเป็นบ่อ
1.2) สะพาน จำนวน 1 สะพาน
1.3) การจัดการขนส่งมวลชน ประกอบด้วย
- รถโดยสารประจำทาง สายอำเภอประทาย – จังหวัดนคราชสีมา
- รถโดยสารประจำทาง สายอำเภอพยัคฆ์ภูมิพิสัย - จังหวัดนคราชสีมา
- รถโดยสารประจำทาง สายพนมไพร – กรุงเทพมหานคร
- รถโดยสารประจำทาง สายมุกดาหาร – กรุงเทพมหานคร
การไฟฟ้า
การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ องค์การบริหารส่วนตำบลจึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน ปัจจุบันในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีไฟฟ้าใช้ ดังนี้
(1) จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 1,014 หลังคาเรือน
(2) ไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน 50 จุด ครอบคลุมถนนทุกสายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
การประปา
การประปา องค์การบริหารส่วนตำบลมีกิจการประปาเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลเอง สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ปัญหาคือ มีข้อร้องเรียนเรื่องน้ำประปาขุ่นบ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องจากน้ำที่ใช้ผลิตประปามีวัชพืชเยอะทำให้เกิดการตกตะกอนของน้ำ ประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่สามารถที่จะผลิตเป็นน้ำประปาสำหรับบริโภคได้ ต้องใช้งบประมาณสูงมากในการดำเนินการ ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสามารถที่จะจัดหาน้ำดิบสำหรับผลิตประปาให้หมู่บ้านได้ได้ การแก้ปัญหาคือ การลงพื้นที่ดำเนินการแก้ไขตามจุดที่เกิดปัญหาในทันที การพิจารณาโครงการต่างๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้นั้น เช่น โครงการก่อสร้างโรงสูบจ่ายสารเคมีและเก็บสารเคมีการประปา ฯลฯ องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้นำบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีเพื่อที่จะพิจารณาดำเนินการในปีต่อไป เมื่อมีงบประมาณและความจำเป็นก็สามารถดำเนินโครงการได้ต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อไป ปัจจุบันประชาชนมีประปาใช้ ดังนี้
(1) จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา 1,014 หลังคาเรือน
(2) หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง 2 แห่ง
(3) ปริมาณการใช้น้ำประปาเฉลี่ย 1,000 – 1,500 ลบ.ม. ต่อวัน
(4) แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาได้จาก
ลำห้วยเจียบ ( / ) บ้านระหันค่าย หมู่ที่ 7
หนองกรด ( / ) บ้านจาบ หมู่ที่ 9
แหล่งน้ำใต้ดิน ( - )
โทรศัพท์
(1) จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่ จำนวน 5 ตู้ (ม.7, ม.8, ม.16, ม.17)
(2) หอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ 100 ของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
ไปรณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่การไปรษณีย์โทรเลข ใช้ร่วมในเขตเทศบาล จำนวน 1 แห่ง ให้บริการ เวลา 08.00 – 16.00 น. ในวันจันทร์ – เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์
ระบบเศรษฐกิจ
การเกษตร
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ดังนี้
- อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 13 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพค้าขาย ร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
การประมง
(ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีการประมง)
การปศุศัตว์
- เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ จำนวนสัตว์ในพื้นที่โดยประมาณ ดังนี้
โค 700 ตัว กระบือ 100 ตัว สุกร 120 ตัว
เป็ด 500 ตัว ไก่ 500 ตัว อื่นๆ 1,000 ตัว
การบริการ
โรงแรม - แห่ง
ร้านอาหาร - แห่ง
โรงภาพยนตร์ - แห่ง
ร้านเกมส์ - แห่ง
การท่องเที่ยว
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ การจัดสร้างสวนสาธารณะสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ
อุตสาหกรรม
- จำนวนกิจการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (โรงสีขนาดเล็ก) จำนวน 2 แห่ง (ม.6 , ม.17)
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
ธนาคาร - แห่ง สถานีบริการน้ำมัน 4 แห่ง (ม.9 , ม.14 , ม.17)
บริษัท - แห่ง ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า - แห่ง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด - แห่ง ตลาดสด - แห่ง
ร้านค้าชุมชน จำนวน 2 แห่ง (ม.6 , ม.7)
ร้านค้า จำนวน 28 แห่ง
ซุปเปอร์มาเก็ต - แห่ง
กลุ่มอาชีพ
มีกลุ่มอาชีพ จำนวน 2 กลุ่ม
1. กลุ่มผลิตปุ๋ย
2. กลุ่มผ้าไหม
แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 – 60 ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ 95 เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ 73.99 ซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง 25 – 50 ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำลโนนแดง
- ปั้มน้ำมัน จำนวน ๔ แห่ง (ม.๙ , ม.๑๔ , ม.๑๗)
- โรงสีขนาดเล็ก จำนวน ๒ แห่ง (ม.๖ , ม.๑๗)
- ร้านค้าชุมชน จำนวน ๒ แห่ง (ม.๖ , ม.๗)
- ร้านค้า จำนวน ๒๘ แห่ง
สภาพทางสังคมการศึกษา
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง มีสถานศึกษาที่อยู่ในเขตจำนวน ๔ โรงเรียน
ข้อมูลนักเรียนในเขตพื้นองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ประจำปี ๒๕๕๓
(ข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๗)
ลำดับที่ |
ชื่อโรงเรียน |
จำนวนนักเรียน
(คน) |
|
|
๑ |
ศพด. อบต.โนนแดง |
๔๐ |
|
๒ |
โรงเรียนวัดบ้านตะเภาหนุน |
๘๑ |
|
๓ |
โรงเรียนบ้านดอนตัดเรือ |
๑๐๔ |
|
๔ |
โรงเรียนบ้านหนองบง |
๖๐ |
|
๕ |
โรงเรียนบ้านจาบ |
๕๐ |
|
รวม |
|
๓๓๕ |
|
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- มีวัด จำนวน ๘ แห่ง ประกอบด้วย
๑.วัดบ้านตะเภาหนุน
๒.วัดป่าพุธฐานิโย (บ้านดอนตะหนิน)
๓.วัดบ้านดอนตัดเรือ
๔.วัดธรรมานุสรณ์ญาณวิสุทธิ์ (บ้านระหันค่าย)
๕.วัดบ้านหนองบง
๖.วัดบ้านจาบ
๗.วัดบ้านหนองตาโล
๘.วัดบ้านไทยสามัคคี
สาธารณสุข
- โรงพยาบาล จำนวน ๑ แห่ง คือโรงพยาบาลโนนแดง มีพื้นที่ทั้งหมด ๓๖ ไร่ เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอโนนแดง
การบริการพื้นฐานเส้นทางคมนาคม
การคมนาคมของตำบลโนนแดง มีถนนสายหลัก คือ ถนนเจนจบทิศทางหลวงหมายเลข ๒๐๗
ถนนในหมู่บ้านในตำบล
๑.ถนนคอนกรีต จำนวน ๖๐ สาย คิดเป็นระยะทาง ๗,๐๐๐ กิโลเมตร สภาพใช้งานได้ดี
๒.ถนนลูกรัง จำนวน ๑๐ สาย คิดเป็นระยะทาง ๒,๗๐๐ กิโลเมตร สภาพใช้งานได้ดี
๓.ถนนดิน จำนวน ๓๙ สาย คิดเป็นระยะทางพื้นที่ ๑๓๗,๖๘๐ ตารางเมตร สภาพใช้งานได้ดี
๔.ถนนหินคลุก จำนวน ๑๕ สาย คิดเป็นพื้นที่ ๒๖,๘๔๔.๕ ตารางเมตร สภาพใช้งานได้ดี
๕.ถนนลาดยาง จำนวน ๒ เส้น คิดเป็นระยะทาง ๕.๗๐๐ กิโลเมตร สภาพชำรุดเป็นหลุ่มเป็นบ่อ
การโทรคมนาคม
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๕ ตู้ (ม.๗, ม.๘, ม.๑๖, ม.๑๗)
- ที่การไปรษณีย์โทรเลข ใช้ร่วมในเขตเทศบาล
การไฟฟ้า
- ไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำสะแทด จำนวน ๑ แห่ง
- ลำห้วยเจียบ จำนวน ๑ แห่ง
- บึงระหอก จำนวน ๑ แห่ง
- หนองน้ำ จำนวน ๗ แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย จำนวน ๓ แห่ง - บ่อน้ำตื้น จำนวน ๕ แห่ง
- ประปา จำนวน ๒ แห่ง - บ่อโยก จำนวน ๒ แห่ง - คลอง จำนวน ๒ แห่ง (คลองหนองม่วง , คลองหัวลิง)
ที่สาธารณะในตำบล ประกอบด้วย
- โนนชาด (ม.๗)
- โนนวัด (ม.๗)
- โนนขาม (ม.๗)
- ป่าสาธารณะหนองแฝก (ม.๑๗)
กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มจัดตั้ง
๑.กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน(เงินล้าน) (ทุกหมู่บ้าน)
๒.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (ทุกหมู่บ้าน)
๓.กลุ่มกองทุน กข คจ (ม.๘ , ม.๑๔)
๔.กลุ่มแม่บ้าน (ทุกหมู่บ้าน)
๕.กลุ่มกองทุนข้าว (ม.๕ , ม.๗)
๖.กลุ่มกองทุนปุ๋ย (ม.๙ , ม.๑๖)
กลุ่มอาสาสมัคร
๑.อปพร. ๒. อสม.
๓.เยาวชน ๔.ตำรวจบ้าน
๕.กลุ่มปศุสัตว์ (ม.๕) ๖.กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ม.๕ , ม.๑๖)
๗.กลุ่มปลูกป่าชุมชน (ม.๗)
กลุ่มอาชีพ
๑.กลุ่มทำน้ำปลา (ม.๒)
๒.กลุ่มทอเสื่อกก, ทอเสื่อต้นธูป (ม.๒ , ม.๑๔)
๓.กลุ่มเลี้ยงโคขุน (ม.๒ , ม.๘ , ม.๑๖)
๔.กลุ่มเลี้ยงสุกร (ม.๖ , ม.๙)
๕.กลุ่มขยายพันธุ์ข้าวหอมมะลิ (ม.๕)
๖.กลุ่มปลูกผักสวนครัว (ม.๘)
ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง
บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ประกอบด้วย
(ก.) สภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง
รายชื่อสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ที่ได้รับเลือกตั้งเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่ง |
อายุ
(ณ ๑๒ ต.ค.๕๖) |
ระดับการศึกษา |
๑ |
นายเฉลิม พรมชาติ |
(ส.อบต. ม.๘) ประธานสภา อบต. โนนแดง |
๖๓ |
ม. ๖ |
๓ |
นายจำลอง กลิ่นเพ็ชร |
(ส.อบต. ม.๙) รองประธานสภา
อบต. โนนแดง |
๔๙ |
ม. ๖ |
๓ |
นางละเอียด เกลากลาง |
(ส.อบต. ม.๕) เลขานุการสภา อบต. โนนแดง |
๔๑ |
ม. ๓ |
๔ |
นายพิชัย กรวยกระโทก |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๒ |
๕๖ |
ป. ๔ |
๕ |
นายวิจักร เทินสระเกษ |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๒ |
๔๖ |
ป. ๖ |
๖ |
นางต้อย พะธะนะ |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๕ |
๓๖ |
ม.๓ |
๗ |
นางสาวขวัญใจ ชัยชนะ |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๖ |
๓๙ |
ม.๖ |
๘ |
นางศิริพร นวนโพธิ์ |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๖ |
๔๖ |
ม. ๖ |
๙ |
นายอุทัย กองนามน |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๗ |
๔๔ |
ป.๖ |
๑๐ |
นางสมนึก บอบสันเทียะ |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๗ |
๔๕ |
ม.๓ |
๑๑ |
นายสมชาย ด่านลำมะจาก |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๘ |
๔๑ |
ป. ๖ |
๑๒ |
นายบุญเชิด เกิดสันเทียะ |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๘ |
๔๕ |
ม.๖ |
๑๓ |
นายบุญโฮม มูลอ่อน |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๑๔ |
๕๗ |
ม. ๖ |
๑๔ |
นายประจวบ แสงศรี |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๑๔ |
๖๐ |
ม. ๖ |
๑๕ |
นายสวง ช่างเกรียน |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๑๖ |
๔๓ |
ป. ๖ |
๑๖ |
นางนวลยงค์ จันดาโครต |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๑๖ |
๓๓ |
ม.๖ |
๑๗ |
นายราศรี นานอก |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๑๗ |
๔๔ |
ม.๖ |
๑๘ |
นายสมศักดิ์ เซียนพุดซา |
สมาชิกสภา อบต. โนนแดง หมู่ที่ ๑๗ |
๓๖ |
ป.๖ |
๒.๔ ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพท้องถิ่น ได้แก่ โครงสร้างและกระบวนการการบริหารงานบุคคล งบประมาณ
และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ
(ข) ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง
รายชื่อคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ประกอบด้วย
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่ง |
อายุ |
ระดับการศึกษา |
๑ |
นายไพโรจน์ พัฒนเดชากูล |
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง |
๖๓ |
ปริญญาตรี |
๒ |
นายประกอบ ระวังโคร |
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง |
๕๐ |
ม.๖ |
๓ |
นายประสาร แข็งขัน |
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง |
๔๗ |
ม. ๖ |
๔ |
นายอนุสอน ประจิตร |
เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง |
๔๕ |
ม. ๓ |
(ค) พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล
รายชื่อพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ประกอบด้วย
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่ง |
ระดับการศึกษา |
๑ |
นายสิทธิเดช วิระชัย |
ปลัด อบต. โนนแดง (นักบริหารงาน อบต. ๘) |
ปริญญาโท |
ฝ่ายตรวจสอบภายใน ว่าง (จำนวน ๑ อัตรา)
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่ง |
ระดับการศึกษา |
๑ |
|
|
ปริญญาโท |
สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง (จำนวน ๑๔ อัตรา)
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่ง |
ระดับการศึกษา |
๑ |
นางสาวประยูร สร้อยเพชร์ |
หัวหน้าสำนักงานปลัด (นักบริหารงานทั่วไป ระดับต้น) |
ปริญญาโท |
๒ |
นางธัญวรัตน์ สุปะมา |
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ |
ปริญญาตรี |
๓ |
นายสามารถ หิรัญวัฒนะ |
นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ |
ปริญญาตรี |
๔ |
นางสาวปฏิมาพร พรมโชิต |
นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ |
ปริญญาตรี |
๕ |
นางสาวชลธิชา มะโนรัตน์ |
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ |
ปริญญาตรี |
๖ |
พ.จ.อ. เอกลักษณ์ หมั่นสระเกษ |
เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ |
ปริญญาตรี |
๗ |
นายณัฐพงษ์ นาคร้าย |
ผู้ช่วยนักวิชาการเกษตร |
ปริญญาตรี |
๘ |
นางสาวปิยะรัตน์ มนัสศิลา |
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานส่งเสริมสุขภาพ |
ปริญญาตรี |
๙ |
นายเทียน กันงุเหลือม |
นักการภารโรง |
ป.๔ |
๑๐ |
นายสมศักดิ์ กุนอก |
คนงานทั่วไป |
|
๑๑ |
นายสัญญา หาญพยัคฆ์ |
คนงานทั่วไป |
ม.๓ |
๑๒ |
นางวาด นกแก้ว |
คนงานทั่วไป |
ม.๖ |
๑๓ |
นายธีระวุธ เถียนนอก |
คนงานทั่วไป |
ปริญาตรี |
กองคลัง (จำนวน ๖ อัตรา)
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่ง |
ระดับการศึกษา |
๑ |
นางสาวศิริวรรณ ตู้จำนงค์ |
ผู้อำนวยการกองคลัง |
ปริญญาโท |
๒ |
นางสาวนิศรา ทิพโชติ |
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ๕ |
ปริญญาตรี |
๓ |
นางสาวประสิทธิพร งอนชัยภูมิ |
นักวิชาการพัสดุ ๕ |
ปริญญาตรี |
๔ |
- |
เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ |
- |
๕ |
นางสาวสุทธาทิพย์ บอบสันเทียะ |
ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี |
ปริญญาตรี |
๖ |
นางสาวอนุสรา ออกมา |
ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ |
ปริญญาตรี |
ส่วนโยธา (จำนวน ๕ อัตรา)
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่ง |
ระดับการศึกษา |
๑ |
- |
หัวหน้าส่วนโยธา |
- |
๒- |
- |
นายช่างโยธา ๕
(รักษาการแทนหัวหน้าส่วนโยธา) |
- |
๓ |
- |
นายช่างโยธา |
- |
๔ |
นายทวิทย์ มีระหันนอก |
ผู้ช่วยนายช่างไฟฟ้า |
ปริญญาตรี |
๕ |
- |
ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ |
- |
ส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (จำนวน ๕ อัตรา)
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่ง |
ระดับการศึกษา |
๑ |
นางอุไร เพ็ชรสุข |
ผู้อำนวยการกองการศึกษาฯ (นักบริหารการศึกษาระดับต้น) |
ปริญญาโท |
๒ |
- |
เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ – ๔ |
- |
๓ |
นางยุพิน คำสอนพันธ์ |
ครูผู้ดูแลเด็ก |
ปริญญาตรี |
๔ |
นางมยุรีย์ เกยกลาง |
ครูผู้ดูแลเด็ก |
ปริญญาตรี |
๕ |
นางสาวอุบล แข็งขัน |
ผู้ดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัย |
ปริญญาตรี |
|